วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันที่ 5 มีนาคม 2562
วันนี้เป็นวันเค้าเรียนวันสุดท้ายอาจารย์ก็ปิดคอสแล้ววันนี้อาจารย์ก็ได้สอนในเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดแต่ที่เน้นคือวันนี้มันการทำแผนผังของการทำแผนถามเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์หลังจากนั้นอาจารย์ได้เรียกของงานที่ให้ไปทำมาถูกที่แล้วหลังจากนั้นก็เข้าบทเรียนอาจารย์ให้พูดเกี่ยวกับเด็กในวัยแรกเกิด- 6ปี เกี่ยวกับเรื่องของสมองการเรียนรู้การอยู่รอด
 พูดถึงเรื่องที่อบรมว่าได้ความรู้อะไรบ้างการทำงานของสมอง ceo กระบวนการคิดเชิงบริหาร
การที่สำคัญเช่นการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณาญาณในการวิเคราะห์สิ่งที่เราเห็น



หลังจากนั้นอาจารย์ให้ใส่กระดาษเอสี่หนึ่งแผ่นวางตามแนวนอน หลังจากนั้นอาจารย์ให้เขียน my  Maps  อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเรื่องไก่มาแล้วก็ให้เราแตกกันมาย  my map
อาหารก็จะมีประเภทของไก่ ลักษณะของไก่ ที่อยู่อาศัยของไก่ ประโยชน์ของไก่ พอทำเสร็จก็ส่งอาจารย์แล้วอาจารย์ก็วิเคราะห์ว่าของเราทำถูกต้องไหมแล้วอาจารย์ก็ได้ใส่กระดาษเอสี่ให้คนไรอีกหนึ่งแผ่นเพราะที่ทำมาต้องถูกแก้ไขทั้งหมดทำเรื่องไก่เรื่องเดิม  การสอดคล้องของเรื่องไก่นั้นเกี่ยวกับการสอดของทางคณิตศาสตร์
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้สั่งงานแผ่นพับรายงานผู้ปกครองเป็นการแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้คุณครูกำลังสอนเรื่องอะไรและสามารถพัฒนาการทางด้านไหนการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สาระไหนการมีความร่วมมือของผู้ปกครองมากแค่ไหน







คำศัพท์ภาษาอังกฤษบทที่ 13
1.  analyze          วิเคราะห์
2.  synthetic   สังเคราะห์ 
3.  thinking process  กระบวนการคิด
4.  mathematics คณิตศาสตร์
5.  My map แผนความคิด
6.  knowledge ความรู้
7.  Learning สาระการเรียนรู้
8.  benefit ประโยชน์
9.  category ประเภท
10. Nature ลักษณะ


บรรยากาศในห้องเรียน

สนุกสนาน

แอร์เย็น

พื้นที่เล็กไปหน่อย


การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : ตั้งใจฟังบ้าง มีหลุดบ้าง
ประเมินเพื่อน     :  เพือนก็มีส่วนตั้งใจและส่วนที่ไม่ตั้งใจ

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์น่ารักสอนเข้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายใจดีประทับใจมากอยากเรียนอีก








บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
19 เมษายน 2562

ป่วยไม่ได้มาเรียนค่ะ

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่11
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2562
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับองค์ประกอบของบอกว่ามีอะไรบ้างให้นักศึกษาได้แต่ตรวจสอบความถูกต้องว่า Box ของนักศึกษาต้องมีอะไรบ้างในเนื้อหาของบล็อกนั้นก็จะมีดังนี้ที่เน้นย้ำ ส่งงานสื่อที่ค้างที่นำกลับไปแก้ไขทุกกลุ่ม

1. กรอบ มคอ
2. ปฏิทิน นาฬิกา เวลา
3. ลิงค์รายชื่อเพือน
4. รูปแนะนำตัวเรา อาจารย์ มหาลัย คณะ


หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายถึง มคอ (กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมการศึกษา) ให้รายละเอียดกับเราว่าเราต้องรู้อะไรบ้างนำไปใช้อย่างไร
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระกับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้
มคอ.1 การพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา กรอบที่กําหนดมาตรฐานผลการเรียนรูปของบัณฑิต ในแต่ละระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชาหนึ่งซึ่งจะกําหนดคุณลักษณะของบัณฑิตในสาขา/สาขาวิชา ปริญญา และองค์ความรู์ที่เป็นเนื้อหาเท่าที่าเป็นจะต้องมีในหลักสูตรสาขา/สาขาวิชาและระดับคุณวุฒิ นั้นๆ เพื่อเป็นหลักประกันว้่าผู้ที่สําเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในสาขา/สาขาวิชาและระดับ คุณวุฒิเดียวกันจะมีผลการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าที่กําหนด ในขณะเดียวกันมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาจะ เปิดกว้างและส่งเสริมให้สถาบันต่างๆมีโอกาสบรรจุเนื้อหาวิชาในส่วนที่นอกเหนือจากที่กําหนดไว้ ได้อย่างอิสระ เหมาะสม และตรงกับความต้องการหรือเอกลักษณ์ของแต่ละสถาบัน ซึ่งจะทําให้ สถาบันต่างๆสามารถพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย แต่มีมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรใน สาขา/สาขาวิชาและระดับคุณวุฒิเดียวกันที่เทียบเคียงกันได้ นอกจากนี้มาตรฐานคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชายังได้กําหนดเงื่อนไข ข้อแนะนํา ในการบริหาร จัดการการเรียนการสอนที่สถาบันอุดมศึกษาต้องนําไปปฏิบัติเพื่อให้หลักประกันว่า หลักสูตรที่จัดการ เรียนการสอนสามารถบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรูัที่คาดหวัง
มคอ.2 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับการพัฒนารายละเอียดของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงเล่มหลักสูตรของแต่ละหลักสูตร คําอธิบายภาพรวมของ การจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่จะทําให้บัณฑิตบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้นๆ โดยจะถ่ายทอดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบัณฑิตที่กําหนดไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานคุณวุฒิสาขา ไปสู่การปฏิบัติในหลักสูตรซึ่งแต่ละสถาบันอุดมศึกษาสามารถ บรรจุเนื้อหาวิชาเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ได้อย่างอิสระ เหมาะสม ตรงกับความต้องการ หรือเอกลักษณ์ของสถาบันฯ โดยคณาจารย์ผู้สอนจะต้องร่วมมือกันวางแผนและจัดทํารายละเอียด ของหลักสูตร
มคอ.3 การพัฒนารายละเอียดของรายวิชา เริ่มจากการจัดทำมคอ.2 ต้องเริ่มต้นจากการจัดทำ "อัตลักษณ์ของบัณฑิต" และ มาตรฐานการเรียนรู้กลาง ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย แล้วนำไปจัดทำ Curriculum Mapping แต่ละหลักสูตร จากนั้นย้อนกลับไปที่แต่ละหลักสูตร เพื่อออกแบบการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาที่มีคำอธิบายรายวิชา สอดรับขึ้นไปถึงมาตรฐานการเรียนรู้กลาง ซึ่งความยากอยู่ที่การนำ มคอ.2 (ตัวอย่างของ CS) ที่มีกรอบเป็น คำอธิบายรายวิชา ไปจัดทำมคอ.3 ที่มีรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนแต่ละหลักสูตรอาจารย์ผู้สอนจะต้องส่ง มคอ.3 ก่อนเปิดภาคเรียน
มคอ.4 การพัฒนารายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ดำเนินการเช่นเดียวกับมคอ.3 แต่รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้อง ออกฝึกงาน ออก ฝึกภาคสนาม หรือสหกิจศึกษา ซึ่งจะต้องวางแผนให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กําหนดไว้ใน รายละเอียดของหลักสูตร โดยจะกําหนดไว้อย่างชัดเจนถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการ ดําเนินการของกิจกรรมนั้น ๆ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจากการออกฝึก มีการกําหนดกระบวนการหรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะต่าง ๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่นักศึกษา จะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสําเร็จตามจุดมุ่งหมาย รวมทั้งเกณฑ์การวัดและประเมินผล นักศึกษา และการประเมินการดําเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม
มคอ.5 การรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา รายงานผลการดําเนินการของรายวิชา (Course Report) หมายถึง รายงานผลการจัดการเรียนสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคการศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานั้น ๆ ว่าได้ดําเนินการสอนอย่างครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว ้ในรายละเอียดของรายวิชาหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ต้องให้เหตุผลและ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงผลการเรียนของนักศึกษา จํานวนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนสิ้นสุด ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอํานวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา/หัวหน้าภาค/หรือผู้ประเมินภายนอก รวมทั้งการสํารวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต การวางแผนและให้ข้อเสนอแนะต้อผู้ประสานงานหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและพัฒนารายวิชา
มคอ.6 การรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Report) หมายถึง รายงานผลการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษา ว่าได้บรรลุผลการเรียนตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนามหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามแผนต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการฝึกงาน ออกฝึกภาคสนาม หรือ สหกิจศึกษาในครั้งต่อไป รายงานนี้จะครอบคลุมถึงการฝึกประสบการณ์ภาคสนามตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุด ปัญหาด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมิน การฝึกของนักศึกษา/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/พนักงานพี่เลี้ยง
มคอ.7 การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร การรายงานผลประจำปีโดยผู้ประสานงานหลักสูตรหรือผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกี่ยวกับผลการบริหารจัดการหลักสูตร เช่น ข้อมูลทางสถิติของนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตร สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถาบันที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร สรุปภาพรวมของรายงานผลของรายวิชาในหลักสูตร ประสิทธิภาพของการสอนในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้าน การเทียบเคียงผลการดำเนินการกับมาตรฐานอื่นๆที่มี สรุปผลการประเมินหลักสูตรจากความเห็นของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ตลอดจนข้อเสนอในการวางแผนและพัฒนา รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การรายงานผลดังกล่าวจะส่งไปยังหัวหน้าภาควิชา/คณบดี และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาด้วยตนเองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรเป็นระยะๆ และเป็นข้อมูลในการรับรองหลักสูตรจากผู้ประเมินภายนอกได้ด้วย

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อวยพรพวกเรากลับบ้านในวันของการให้เดินทางปลอดภัยหลังจากนั้นอาจารย์ก็ปล่อยเรากลับบ้าน

คำศัพท์ภาาาอังกฤษครั้งที่  10

1.Songkran       สงการนต์
2.element          องค์ประกอบ
3.Adoption        การนำไปใช้
4.spbjects         วิชา
5.safe                 ปลอยภัย
6. conduck    ดำเนินการ
7.recommend   แนะนำ
8.  department หน่อยงาน 
9. experienced  ประสบการณ์

10.Scope ขอบเขต

บรรยากาศในห้องเรียน

สนุกสนาน
แอร์เย็น
สะอาด
ไม่เครียด

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   :ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังแต่บางทีก็ไม่เข้าใจที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินเพื่อน     : ตั้งใจเรียนกันดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใจดีน่ารักวันนี้
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อที่อาจารย์ได้มอบหมายเมื่ออาทิตย์ก่อนของแต่ละกลุ่มให้นำออกมาเสนอหน้าชั้นเรียนกลุ่มดิฉันได้กลุ่มคันดีดซึ่งอาจารย์ก็บอกว่าให้ไปแก้ไขตรงฐานเพราะว่าให้มันหมุนและปรับคานได้สะดวกกับการเล่นของเล่น การเล่นของกลุ่มนี้ฉันจะได้ความรู้เกี่ยวกับการนับจำนวนตัวเลข


ของเพือนๆที่ทำมาก็จะมีสื่อ เรื่อง
🍄 ตัวเลข
🍄กราฟแท่ง
🍄คานดีด
🍄ร้อนลูปปัดฝาขวดน้ำ
🍄บวกเลขจากภาพ
🍄ความสัมพันธ์สองแกน
🍄การวัด
🍄กราฟเส้น
🍄จำนวน
แต่ ละกลุ่มก็โดนกลับไปแก้หรือว่าให้ไปเพิ่มกล่องใส่ขอแล้วนำมาใช้ใหม่อาทิตย์หน้าวันนี้ก็นำเสนอจนครบหมดทุกกลุ่มอาจารย์ก็ได้บอกวิธีการแก้ไขว่าจะต้องทำยังไงถึงจะออกมาสมบูรณ์แบบวันนี้จบการเรียนการสอนแค่นี้

คำศัพท์ภาาาอังกฤษครั้งที่  10

1.Comment         แสดงความคิดเห็น
2. Creativity        ความคิดสร้างสรรค์
3. present             นำเสนอ
4.Bar graph           กราฟแท่ง
5. Line graph        กราฟเส้น
6. how to play       วิธีการเล่น
7.editing                แก้ไข
8. benefit               ประโยชน์
9. graph                 กราฟ
10.Objective          วัตถุประสงค์

บรรยากาศในห้องเรียน

สนุกสนาน
แอร์เย็น
สะอาด
ไม่เครียด

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   :ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังแต่บางทีก็ไม่เข้าใจที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินเพื่อน     : ตั้งใจเรียนกันดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ต้องพุดให้กระชับกว่านี้
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2562
วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้เราไปแยกย้ายทำที่ห้อง หรือสถานที่ต่างๆ
กลุ่มดิฉันได้ทำ คานดีด

 อุปกรณ์มีดังนี้
1.ไม้ไอติม
2. กาว
3.ยาง
4.ฝาขวดน้ำ

วิธีการทำ
1.นำไม้ไอติมสองอันมารัดติดกันด้วยยางตรงปลาทั้งสองด้าน
2.นำไม้ไอติมอีกสองอันมรัดติดกันด้วยหนังยางที่ด้านใดด้านหนึ่ง
3.นำไม้ไอติมสองอันแรกมาสอดเข้าระหว่างไม้ไอติมรุปแบบที่สองที่ทำไว้
4.รัดหนังยางตรงจุดเชื่อมไม้ไอติมทั้งสองชุดให้ติดกัน
5.น้ำฝาขวดน้ำมาทากาว แล้วติดปลายไม่ไอติมที่เป็นตัวดีด

รูปภาพกิจกรรม





คำศัพท์ภาาาอังกฤษครั้งที่  9

1.glue    กาว
2.popsicle     ไม้ไอติม
3.piastic bang     หนังยาง
4. hoe to    วิธีการทำ
5.step     ขั้นตอน
6.setwween        ระหว่าง
7.ling เชื่อม
8.Bottle cap  ฝาขวด
9.equipment อุปกรณ์
10.insert สอด


การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : ตั้งใจทำงานจนเสร็จ

ประเมินเพื่อน     :  ร่วมมือกันทำงานจนเสร็จ

ประเมินอาจารย์ : -


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม2562
ความรู้ที่ได้รับ

จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ไม่ให้พูดเราทำสือได้มอบหมายว่าเราจะต้องทำเสียอะไรกันบ้างวันนี้อาจารย์ก็เลยนัดให้เมาอุปกรณ์ในการทำสื่อ  แต่ละคนก็จะมีสื่อที่แตกต่างกันไปเพราะว่างานที่อาจารย์มอบหมายก็จะถือไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่มก็จะมารับอุปกรณ์ทั้งเฟสหนึ่งและเฟสสองในสี่นั้นจะต้องมีวิธีการทำอุปกรณ์ทำแล้วได้อะไรบ้างอาจารย์ก็ได้ที่ไหนเราก็บอกว่าให้เราทำอย่างไรทำยังไงให้ออกมาดูดี

คำศัพท์ภาาาอังกฤษครั้งที่  8

1.Equipment   อุปกรณ์
2.Step      ขั้นตอน
3.Colour paper   กระดาษสี
4.Future board   ฟิวเจอร์บอร์ด
5.Cutting pad    แผ่นลองตัด
6.Scissors    กรรไกร
7.Glue    กาว 
8.Cutter  คัตเตอร์
9.Paper  กระดาษ
10.Glue  กาว

บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนาน
แอร์เย็น
สะอาด
พื้นที่เล็กไปหน่อย
ไม่เครียด



การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : เล่นบ้างคุยบ้างกับเพือน ช่วยเพือนแบ่งอุปกรณ์ ฟังอาจารย์ตามคำสั่ง

ประเมินเพื่อน     : ตั้งใจและส่วนที่ไม่ตั้งใจ ช่วยกนแบ่งของได้ดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ต้องพุดให้กระชับกว่านี้
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2562
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเรื่องที่ได้เรียนมาอาทิตย์ที่แล้วให้เราศึกษาช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการการทำงานของสมองการเล่นการซึมซับการเรียนรู้การวิเคราะห์เกิดเป็นความรู้ใหม่อาจารย์ได้ทบทวนเรื่องนี้ให้กับเรา

หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับที่สดีของเพียเจย์ว่าเป็นอย่างไรบ้างความรู้ที่ได้คือ

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54)

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
  2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
    -- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

    -- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
  4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

    1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
    2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
    3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
    4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
    5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
    6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
  1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
  3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
  • นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
  • ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
    ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม 
  • หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
    --เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
    --เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
    --เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
    --เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
    --ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง 
  • การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
    --ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
    --ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
    --ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
    --เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
    --ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
    --ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน 

🍄กิจกรรมที่ 2 ของวันนี้คือ🍄
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มสามคนกิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์ของเด็กโดยอาจารย์มาให้เราเลือกก็คือเกี่ยวกับทางด้านคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องตัวเลข  จำนวน การวัดกราฟแท่ง กราฟเส้น ความสัมพันธ์สองแกน คานดีดจากไม้ติม ร้อยลูกปัดฝาขวดน้ำ บวกเลขจากภาพ
 อาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับงานที่มอบหมายว่าแต่ละอย่างจะต้องทำอย่างไรมีอุปกรณ์อย่างไรบ้างอาจารย์บอกว่าอาทิตย์หน้ามารับอุปกรณ์แล้วเอาไปทำจบการเรียนการสอนในวันนี้

คำศัพท์ภาาาอังกฤษครั้งที่  7
1..Assimilationซึมซับ
2. Development   พัฒนาการ
3.Process     กระบวนการ
4.Balance     ความสมดุล
5..Behavior  พฤติกรรม
6.Review      ทบทวน
7.Opposition   ตรงกันข้าม
8.Conflict       ความขัดแย้ง
9.Subject          สาระการรียนรู้
10.Abstract     นามธรรม

บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนาน
แอร์เย็น
สะอาด
พื้นที่เล็กไปหน่อย

การประเมินผล
ประเมินตนเอง   : ตั้งใจฟัง เล่นบ้างคุยบ้างกับเพือน
ประเมินเพื่อน     :  เพือนก็มีส่วนตั้งใจและส่วนที่ไม่ตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ต้องพุดให้กระชับและฟังดูเข้าใจมากกว่านี้

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 5 มีนาคม 2562 วันนี้เป็นวันเค้าเรียนวันสุดท้ายอาจารย์ก็ปิดคอสแล้ววันนี้อาจารย์ก็ได้สอนในเนื้อหาที่เรียนมา...